1) การตากแห้งหรือการรมควัน
คือ
การเอาน้ำหรือความชื้นออกจากอาหารให้มากที่สุด
เพื่อป้องกันการเจริญของเชื้อบูดเสียที่ชอบเจริญในความชื้น เช่น
เชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียบางชนิด การตากแห้ง
หรือการรมควันอาจทำได้โดยใช้ความร้อนจากแสงแดด หรือการใช้ความร้อนจากแหล่งอื่น
เช่น การอบในตู้อบไฟฟ้าหรือแก๊ส เป็นต้น
ลักษณะอาหารแห้งที่ดี
1. เมื่อใช้นิ้วจิ้มหรือบีบ จะไม่แฉะหรือชื้น
2. สามารถโค้งงอได้ ไม่มีน้ำออกมา
3. มีน้ำหนักเบา
การบรรจุและการเก็บรักษา
บรรจุอาหารที่ตากแห้งได้ที่แล้วในขวดแก้ว กล่องพลาสติก ถุงพลาสติก
หรือภาชนะอื่นๆ ที่แห้ง สะอาด มีฝาปิดสนิท ปิดฉลากบอกชื่ออาหาร
และวันเดือนปีที่ผลิตบนภาชนะบรรจุ
แล้วเก็บในที่แห้งและเย็น ไม่ชื้นไม่ถูกแสงแดด หากเก็บไว้นานควรนำออกมาตากแดดบ้าง
เพื่อป้องกันมิให้เกิดราขึ้น
ประโยชน์ของการตากแห้ง
1. เก็บรักษาอาหารไว้บริโภคได้นาน
2.
เป็นการเพิ่มชนิดของอาหารให้มากขึ้น มีรสชาติ กลิ่น สี แตกต่างออกไป
3. สะดวกในการขนส่ง
2) การดอง
- การดองใช้กับอาหารทุกชนิด ทำได้โดยการใช้สารปรุงแต่งเพื่อเป็นตัวช่วยให้เกิดรสตามต้องการ และเป็นตัวรักษาอาหาร เช่น การดองด้วยเกลือ น้ำส้มสายชู การดองหวาน หรือบางครั้งการดองด้วยเกลืออาจทำให้เกิดผลเป็นการดองเปรี้ยวได้ เพราะปริมาณของเกลือที่ใช้มีอัตราส่วนเหมาะสมที่จะเกิดการหมัก กรดเปรี้ยวในอาหารหรือกรดแลคติดทำให้อาหารมีรสเปรี้ยว และช่วยรักษาอาหารไม่ให้เน่าเปื่อย
การเก็บรักษา
อาหารดอง ควรเก็บรักษาในที่สะอาด
แห้ง และเย็น อากาศถ่ายเทสะดวกไม่ควรวางในที่ร้อน ชื้น และแสงแดดส่องถึง
ประโยชน์ของการดอง
1. ทำให้เก็บอาหารได้นานขึ้น
เช่น ไข่เค็ม
2. ทำให้อาหารมีสี กลิ่น
และรสต่างออกไป เช่น ผักกาดดอง
3. ทำให้อาหารที่ใช้บริโภคไม่ได้
ให้สามารถบริโภคได้ เช่น มะม่วงอ่อนดอง
4. ทำให้เกิดอาหารชนิดใหม่
เช่น น้ำส้มสายชู
5. เสริมคุณค่าทางอาหาร
เช่น เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ซึ่งให้โปรตีนสูงกว่าถั่วสุกธรรมดา
3) การแช่อิ่ม
การถนอมอาหารด้วยการแช่อิ่ม เป็นการถนอมอาหารโดยใช้น้ำตาลปริมาณมาก คือ
นำอาหารมาแช่ในน้ำเชื่อม และเปลี่ยนเพิ่มความเข้มข้นจนถึงจุดอิ่มตัวแล้วนำมาทำแห้ง
ประโยชน์ของการแช่อิ่ม
1.
ช่วยให้เก็บอาหารได้นาน
2.
ช่วยให้ได้อาหารที่แตกต่างไปจากอาหารสด
3.
ช่วยเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว
ข้อควรระวัง
การนำชิ้นผลไม้แช่อิ่มมารับประทาน
ต้องระวังความสะอาดด้วย อย่าใช้มือหรือช้อนที่ไม่สะอาดหยิบหรือตัก
เพราะจะทำให้อาหารขึ้นราหรือเสียได้ง่าย
4) การเชื่อม
การถนอมอาหารด้วยการเชื่อม
เป็นการนำผลไม้ไปต้มลงในน้ำเชื่อมจนผลไม้มีลักษณะนุ่ม เป็นประกาย ซึ่งเป็นการใช้น้ำตาลมาช่วยในการถนอมอาหาร
มีลักษณะการใช้น้ำตาลเช่นเดียวกับวิธีการแช่อิ่ม การเชื่อมนิยมทำ
เมื่อจะเก็บผลไม้บรรจุขวดหรือกระป๋อง น้ำเชื่อมที่ใช้อัตราส่วน ดังนี้
-
น้ำเชื่อมใส น้ำตาล 1
ถ้วย ต่อน้ำ 3
ถ้วย
-
น้ำเชื่อมปานกลาง น้ำตาล 1
ถ้วย ต่อน้ำ 2
ถ้วย
-
น้ำเชื่อมเข้มข้น น้ำตาล 1
ถ้วย ต่อน้ำ 1
ถ้วย
การบรรจุและการเก็บรักษา
-
บรรจุในกล่องที่มีฝาปิด
-
บรรจุในขวดหรือในกระป๋อง
ประโยชน์ของผักและผลไม้
1. ช่วยให้เก็บรักษาอาหารไว้ได้นาน
2. ช่วยเพิ่มรสชาติของอาหารให้แปลกได้
5) การกวน
การถนอมอาหารด้วยวิธีการกวน คือ
การที่นำเนื้อผลไม้ที่สุกแล้วผสมกับน้ำตาล โดยใช้ความร้อน
เพื่อกวนผสมให้กลมกลืนกัน โดยมีรสหวาน และให้เข้มข้นขึ้น
การใส่น้ำตาลในการกวนมี 2 วิธี คือ ใส่น้ำตาลแต่น้อยใช้กวนผลไม้
เพื่อทำแยม เยลลี่ เป็นต้น และการกวนโดยใช้ปริมาณน้ำตาลมาก เช่น
การกวนผลไม้แบบแห้ง เช่น กล้วยกวน สับปะรดกวน ทุเรียนกวน เป็นต้น
ประโยชน์ของผักและผลไม้
1. ช่วยให้เก็บอาหารไว้นาน
2. ช่วยให้อาหารมีกลิ่น
รสชาติ ต่างไปจากอาหารสด ผักและผลไม้ที่ใช้กวน ได้แก่ เผือก มันเทศ ฟักทอง สับปะรด
กล้วย มะขาม
ที่มา http://www.snr.ac.th/elearning/sudchit/section%205-2.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น